จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วัฒนธรรม 7 ชนเผ่า


วัฒนธรรม 7 ชนเผ่า

ชนเผ่าผู้ไทย


อาศัยในเขตตำบลเรณู  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

            ประวัติความเป็นมาชนเผ่าผู้ไทย   ชาวผู้ไทยเป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเขต อำเภอเรณูนคร  อำเภอนาแก  อำเภอธาตุพนม  อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา  ชาวผู้ไทย  ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
            ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร  กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง  ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง  ขุนเค็ก  ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมื่อเกิดทุกภิกขภัยพญากา  หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง  จึงชักชวนผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน  ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน  และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน  พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า  อย่าอยู่เมือวังวเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด           
            ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร  ท้าวสาย  จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง  เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง  โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง  ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม  พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่  ดงหวายสายบ่อแก  ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า  เมืองเว  รัชกาลที่ 3  จึงโปรดเกล้าฯ   ตั้งให้ท้าวสายเป็น  พระแก้วโกมล  เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม  ปัจจุบันคือ  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพรม
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
            เหล้าอุ  เหล้าสมุนไพร
ภาษาที่ใช้ภาษาผู้ไทย
ไทยกลาง                       ไทยอีสาน                    ผู้ไทย
ไม่                                            บ่                                 มิ
อะไร,อไรเหรอ                      แม่นหยั๋ง                      เผล๋อ,แม่นผะเล๋อ
ดินสอ                                      สอ                               สอ
ดินสอสี                                   สอสี                             สอสี
ชอล์ก                                      ช็อก                             ช็อก
ไม้บรรทัด                                ไม้บัน ทัด                    ไม้บันทัด        
ยางลบ                                     ยางลบ                         ยางลบ
สมุด                                         สะมุด                          สะมุด
หนังสือ                                    หนังสือ                        หนั่งสือ
กระดานดำ                              กะดานดำ                    กะด๋านด๋ำ
แปลงลบกระดาน                    แปงลบกระดาน          แปลงลบกะด๋าน
กระดาษ                                  กะดาษ                                    กะด๋าษ




ชนเผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)


ที่ตั้ง 
วัดคามวาสี  บ้านโพน  หมู่  8  ตำบลโนนตาล  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ  ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ  อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี  ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง  ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี  ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน)  ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351  ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
            วิถีชีวิตของชาวไทยญ้อ   ลักษณะนิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากที่สุดคือ ซื่อสัตย์  สุจริต  รักสงบ  มีความสามัคคีมั่น  ไม่ว่าจะมีอะไรเช่นการทำบุญ  การปลูกบ้าน  ทำนาจะว่านหรือวานกัน  (นาว่านคือ การลงแขก  ทำนา  ทำงาน)
            การแต่งกายชุดรำไทยญ้อ
            ชาย  สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด  ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่  ซ้ายและขวา  ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อยพระ  ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย
            หญิง  สวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขลิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง  (ตีนจก)  เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียงปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์             ภูมิปัญญาท้องถิ่น                        การทำปลาร้า  ส้มปลาชะโด 
            ภาษาไทยญ้อ (ญ้อ)
            ภาษาพูด              คำอ่าน           ความหมาย
            กิด                    กิด           สั้น,น้อย
            กะโป๊                           กะ โป๊                          กะลา
            กะบวน                      กะ-บวน                       ดี, เข้าเท่า
            กะปอม                        กะ-ปอม                         กิ้งก่า
            กะเปา                          กะ-เปา                         กระเป๋า
            กะดัดกะด้อ        กะ-ดัด-กะ-ด้อ             เกินไป
            เกิบ                 เกิบ                              รองเท้า
            ก้องแขน                 ก้อง-แขน                     กำไลมือ
            กะเทิน                   กะ-เทิน                        ครึ่งๆ , กลางๆ
            กะแดะ                       กะ-แดะ                       แรด-ดัดจริต
            เก้อ                              เก้อ                              ใกล้
            กะผลึกโพด                 กะ-ผะ-ลึก-โพด             เกินไป
            กั้งคันฮ่ม                  กั้ง-คัน-ฮ่ม       กางร่ม
            กล้วยเหิ่ม                     กล้วย-เหิ่ม        กล้วยห่าม
            กับแก๊                          กับ-แก๊          ตุ๊กแก
            กะหน่อง                      กะ-หน่อง           ส้นเท้า
            ก่วย                             ก่วย          ปัด, แกว่งไกว
            เกิบตีนยอง                  เกิบตีนยอง                  รองเท้าส้นสูง
            กองเลง                      กอง-เลง          กลองสองหน้าที่ใช้ในงานประเพณีให้เกิดความสนุก
            กะปาง                         กะ-ปาง                   รางอาหารสัตว์
            แม่นเต๋อ                        แม่นตะเล๋อ      อะไร,อะไรเหรอ

เผ่าไทยกะเลิง 


อาศัยในเขต ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา   กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง   เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อ   โส้  แสก  ผู้ไทยและเวียดนาม  ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม  กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ  100  ปีเศษ  ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่  3  และมีการอพยพครั้งใหญ่  ในสมัยรัชกาลที่  5  เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี  พ.ศ. 2416  ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย  ที่จังหวัดนครพนม  สกลนคร  กาฬสินธุ์  มุกดาหาร 
            จังหวัดนครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่  บ้านกุรุคุ  หนองหญ้าไซ  นาปง  ไทสามัคคี  ตำบลกุรุคุ  บ้านนาโพธิ์  บ้านผึ้ง  วังกะแส  นามน  เทพนม  ดงสว่าง  บ้านขามเฒ่า  ตำบลขามเฒ่า  บ้านดงขวาง  บ้านคำเตย  หัวโพน  ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม  บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย
            วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง   เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีมเหสักข์หลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา ประเพณีที่ชาวกะเลิง บ้านกุรุคุ จัดทำเป็นงานบุญยิ่งใหญ่ คือ บุญเผวส (เทศน์มหาชาติ) ซึ่ง  3  ปี จะจัดให้มีขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมากนอกจากนี้ก็มีประเพณีเลี้ยงผีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
            สมัยก่อน นิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า สักนกน้อยงอย แก้มตอดขี้ตาสักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขาและตามตัวบ้าง  แต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอีสานทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ  ใช้แพเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอกซึ่งเรียกว่า  ปละนม  ไว้ผมยาว  และผมมวยสวมกำไลข้อมือ  ข้อเท้า  และตุ้มหูเงิน  นิยมทัดดอกไม้  ประเทืองผมด้วยขมิ้น  ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร  บางคนนิยมมาถูฟันให้ดำงาม  สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองใช้วัสดุในท้องถิ่น  เช่น  ไม้  หนังสัตว์  กาบหมาก
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
            ตีพร้า  ตีมีด 
ภาษากะเลิงจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท    เช่นเดียวกับภาษาผู้ไทย    ภาษากะเลิงไม่มี  ฟ  ใช้  พ  แทน เช่น ไพพ้า  (ไฟฟ้า)  ไม่มี  ฝ  ใช้  ผ  แทน  เช่น  ผาด  (ฝาด)  ไม่มี  ร  ใช้  ล  แทน  ฮ  แทน  เช่น  ลำ  (รำ)  ฮกเฮื้อ  (รกเรื้อ)  ไม่มี  ช  ใช้ ซ  แทน  เช่น  ซม  (ชม)  มีอักษรควบใช้เป็นบางคำ  เช่น  ขว้าม  (ข้าม)  สวาบ  (สวบ)  กินอย่างมูมมาม 
            ภาพสะท้อนที่แสดงออกถึงค่านิยม  คติความเชื่อ  วิถีการดำเนินชีวิต และศักยภาพของชาวกะเลิงบ้านกุรุคุ  จะเห็นได้จากผญา  เพลงพื้นเมือง  นิทานพื้นบ้าน

เผ่าไทแสก


อาศัยในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา   แสก  เป็นชนกลุ่มน้อยภาคอีสานเผ่าหนึ่งในจำนวนหลายๆ  เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย  เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้  อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและจีน ชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุสาหะบากบั่น  ยึดมั่นในความสามัคคี  เมื่อเห็นภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสมจึงได้รวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ใหม่  โดยอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี  ท้าว กายซุ และท้าวกายชา  เป็นหัวหน้าในการอพยพ
            ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทย  ชาวแสก ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานมาอยู่ที่ป่าหายโศก  การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกข่มแหงแต่อยู่ใด  เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณป่าหายโศก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆ จึงได้อพยพกันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา
            จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมืองได้พิจารณาเห็นว่าชาวแสกมีความสามารถและความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้จึงได้ยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมืองโดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากป่าหายโศก เป็นเมืองอาจสามารถ หรือบ้านอาจสามารถ จนทุกวันนี้
            เมื่อได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแล้ว ชาวแสกต่างพากันโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินในต่างถิ่นอีกก็มี เช่น บ้านไผ่ล้อม (ตำบลอาจสามารถ) บ้านดงสมอ บ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และที่บ้านโพธิ์คำ (ประเทศลาว) ชาวแสกเหล่านี้ ล้วนเป็นเชื้อสายและเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถ
            จากคำบอกกล่าวของชาวแสกทราบว่า  ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนาที่ประเทศจีน  และที่สมุทรปราการ  ประเทศไทยอีกด้วย
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 
            เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  พิณ  แคน  โปงลาง  ปลิงตากแห้ง  ใส้เดือนตากแห้ง 
คำศัพท์ภาษาไทยแสก
ภาษาไทยกลาง                        ภาษาไทยอีสาน                     ภาษาไทยแสก
ช้าง                                          ซ้าง                                          ซาง
ม้า                                            ม้า                                            มา
แพะ                                         แพะ                                         แพะ
เป็ด                                          เป๋ด                                          ปึ๊ด
ปลา                                         ปา                                            ปร๋า
แมว                                         แม่ว                                         แมว
หมู                                           หมู                                           หมู
หมี                                           หมี                                           หมี
หนู                                           หนู                                           หนู
วัว                                            งัว                                            บอ
หอย                                         หอย                                         โอก
ห่าน                                         ฮ่าน                                         ห่าน
ผีเสื้อ                                        แมงกะเบี้ย                               บุ่งบ่า
เสือ                                          เสีย,เสือ                                                กุ๊ก
สิงโต                                       สิงโต                                       สิงโต
ยีราฟ                                        ยีราฟ                                        ยีราฟ
สุนัข                                        หมา                                         มา
จิ้งจก                                       ขี้เกี้ยม                                     ยะราน
ตุ๊กแก                                      กั๊บแก้                                      กั๊บแก้
ปู                                             ปู                                             เบษ
เต่า                                           เต่า                                           รอ
เขียด                                        เขียด                                        แทร่ (ควบ)
อึ่ง                                            อึง                                            อึ่ง
ปลาดุก                                     ปาดุก                                       ปร่าร้อก
ปลาช่อน                                  ปาค่อ                                       ปร่าแทร่
ปลาซิว                                    ปาซิว                                       ปร๋าชิว


เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่ 


อาศัยอยู่ในเขต อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

            ประวัติความเป็นมา   ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า  นักมนุษยวิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์  ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า แต่ภาษานั้นถือว่า  อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู  ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ  ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้บทความเรื่องภาษาตระกูลไทย
            พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่  3 ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช  เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม  ในแขวงสุวรรณเขต  ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นกับเมืองนครพนม  เมื่อ  พ.ศ. 2387  โปรดเกล้าฯ  ตั้งให้ท้าวบัว  แห่งเมืองเชียงฮ่ม  เป็นพระทัยประเทศ  เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก  ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช  ตำบลพระทาย  ตำบลท่าจำปา  อำเภอท่าอุเทน  ตำบลโพนสวรรค์  จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้
            นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก  จังหวัดนครพนมอีกหลายหมู่บ้าน  เช่น  ตำบลโคกสูง  และบ้านวังตามัว  ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม
            ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง  หรือภาษากะโซ่เรียกว่า  สะลา  เป็นพิธีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย  กับพิธี  ซางกระมูด  ในงานศพ
            1. พิธีกรรม  โซ่ทั่งบั้ง  เป็นภาษาชาวไทยอีสานเรียกชื่อพิธีกรรมของชาวกะโซ่คำว่าโซ่  หมายถึง พวกกะโซ่  คำว่าทั่ง แปลว่ากระทุ้ง  หรือกระแทก  คำว่าบั้ง  หมายถึงบ้องหรือกระบอกไม้ไผ่  โซ่ทั่งบั้ง ก็คือ  การใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง  กระทุ้งดินให้เป็นจังหวะและมีผู้ร่ายรำและร้องรำไปตามจังหวะในพิธีกรรมของชาวกระโซ่  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร  เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์  (อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร)  เมื่อ พ.ศ. 2449   ได้ทรงบันทึกการแสดงโซ่ ทั่งบั้งหรือสะลาไว้ว่า
            สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง  คนสะพายหน้าไม้  และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพระเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุงดิน  รวมแปดคน เดินร้องรำเป็นวนเวียนไปมา  พอพักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...
2.  พิธีซางกระมูด  เป็นพิธีกรรมก่อนนำศพลงจากเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือการจัดระเบียบ กระมูด แปลว่า ผี ซางกระมูด หมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับคนตายชาวกระโซ่ถือว่า เมื่อคนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพิธีซางกระมูดเสียก่อน เพื่อให้ผีดิบและวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข  มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้
            อุปกรณ์ในพิธีซางกระมูดประกอบด้วย ขันโต(ขันกระหย่อง) สานด้วยไม้ไผ่สองใบ เป็นภาชนะใส่อุปกรณ์ต่างๆ  มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น 4 ตัว แทนวิญญาณของผู้ตาย นอกจากนี้ยังมีพานสำหรับยกครู (คาย) ประกอบด้วยขันธ์ 5 เทียน5 คู่ ดอกไม้สีเขียว เช่น ดอกลั่นทม 5คู่ เงินเหรียญ 12 บาท ไข่ดิบ  1  ฟอง 
ดาบโบราณ  1   เล่ม  ขันหมาก  1   ขันมีดอกไม้อยู่ในขันหมาก   1   คู่  พร้อมด้วยบุหรี่  และเทียนสำหรับทำพีอีกหนึ่งเล่ม  ล่ามหรือหมอผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถามวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข  เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณแล้วญาติก็จะจัดสิ่งของไว้บวงสรวงวิญญาณ
3.  พิธีเหยา  ในการรักษาคนป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆ กับพิธีของชาวไทยอีสานทั่วไป  เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ        
            ชาวไทยกะโซ่มีผิวกายที่ดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงกล่าวถึงการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ ต่างๆ ภาค 4 เมื่อเสด็จภาคอีสานเมื่อ  พ.ศ.  2449  ไว้ว่า  ....ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื้อแขนกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบ  ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมือง  แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้า ชายหนึ่ง
 ภูมิปัญญาพื้นบ้าน   เหยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ
ภาษาที่ใช้ภาษาคือภาษาโส้     
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัด นครพนม  เมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งจังหวัดมุกดาหารยังรวมอยู่ในจังหวัดนครพนม ชาวไทยกะโซ่
ได้แสดงโส้ทั่งบั้งหรือสะลาทอดพระเนตรพร้อมกับร้องคำถวายพระพรเป็นภาษากะโซ่ว่า       เซินตะดกละแสง  เซินแต่แซงมะนาง     เซินยอนางเอย    ดรุ๊กอีตู    จูเยก    ยางเอย        ดรุ๊กอีตูจูเยอวายเอย
ไฮพัดกระกมติตอนจิรอ          ไฮพัดระพอดิตรอนอิตูด          ตะรงยางเอย
ระกบเจ้ากวงมานะ      วอนเบาแบนเราะ                     เนออาญาเฮาเอย
สะโอนเนาต๊กยะ                      วอนเบาแบนเราะ                     ดูกรองวไดเดอกะนางไฮเอย
คำแปล  ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธ์ขุนเขา ขอเชิญแสงตะวันอันแรงกล้า เชิญเถิดขอให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ จงมาให้ขวัญทั้งหลายจงมาร่วมกัน ณ ที่นี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเอย ขอให้มาคุ้มครองสองเจ้าเหนือหัว ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขเถิดพระเจ้าเราเอย ขอให้อย่ามีทุกข์และความเดือดร้อน  ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขอยู่คู่เมืองไทย ปกป้องคุ้มครองพวกทั้งหลายตลอดไปเทอญ

ไทยข่า


อาศัยในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

            ประวัติความเป็นมา  ไทยข่าเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังพอมีหลงเหลือบ้างในพื้นที่จังหวัดนครพนมแต่ไม่ปรากฏให้เป็นชุมชนชัดเจนจะมีเพียงครอบครัวที่แทรกอยู่ในชุมชนอยู่ในพื้นที่อำเภอนาแกตามหมู่บ้านแถบเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร  อำเภอดงหลวง  จะมีชาวข่าอาศัยอยู่มาก  ในอดีตจังหวัดมุกดาหารเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดนครพนมรวมถึงอำเภอดงหลวงด้วย  ปัจจุบันอำเภอมุกดาหารได้เลื่อนเป็นจังหวัด  และอำเภอดงหลงก็ไปขึ้นเป็นสังกัดมุกดาหารด้วย  ชุมชนไทยข่าในจังหวัดนครพนมจึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด จึงมีเพียงกระจัดกระจายเป็นบางครอบครัวในชุมชนต่างๆ  ดังกล่าวมาแล้ว
            ไทยข่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่แขวงสุวรรณเขตสาละวัน  และอัตปือ  ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา
            นักมนุษยวิทยาถือว่า  ชาวไทยข่าเป็นเผ่าดั้งเดิมในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง  ภาษาของชาวไทยข่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเชียติก  ในสมัยมอญเขมร ชาวไทยข่ามิได้เรียกตัวเองว่าชาวไทยข่า  แต่จะเรียกตัวเองว่าพวกบรู
            คำว่า ข่า อาจมาจาก ข้าทาส ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียง ข่าทาส เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดพวกบรูมาเป็นข้าทาสรับใช้กันมาก  จึงเรียกกันมาว่าไทยข่า
            จารีตประเพณีของชาวข่าที่น่าศึกษา  (การแต่งงาน)
            การสู่ขอฝ่ายชายมีล่าม 4 คน (ชาย 2 คน หญิง 2 คน) เทียน 4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท การแต่งงานมีเหล้าอุ 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8  ฟอง เงินหนักสองบาท หมูหนึ่งตัว และกำลัยเงิน 1 คู่
            การกระทำผิดจารีตประเพณี (ผิดผี) เช่น ห้ามลูกสะใภ้เข้าห้องนอนพ่อผัว  ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัว ห้ามลูกเขยเข้าออกภายในบ้านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง หรือลูกเขยพกมีดพร้า สวมหมวกขึ้นบ้านพ่อตา  หรือกินข้าวร่วมกับแม่ยาย  หรือรับของจากแม่ยาย  การผิดผีหรือผิดจารีตประเพณีเช่นนี้ลูกเขยจะต้องใช้เงิน 5 บาท หมู 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ หากเป็นลูกสะใภ้ ต้องใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน และแก้การผิดผีโดยใช้บุหรี่ ซึ่งม้วนด้วยใบตอง 2 ม้วน หมากพลู 2  คำ นำไป ขอคารวะต่อผีของบรรพบุรุษที่มุมเรือนด้านทิศตะวันออกหรือที่เตาไฟ



ชนเผ่าไทยอีสาน


            ไทยอีสาน  เป็นประชากรกลุ่มใหญ่  พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน  เช่น  ฮีต  คอง  ตำนาน  อักษรศาสตร์  จารีตประเพณี  นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม  บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ  อาศัยอยู่ทั่วไป
เรื่องถิ่นเดิมของชาติพันธุ์ลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
       1
ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียงคือลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียงมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5600 ปี กว่าคนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่านอกจากลาวจะอยู่อีสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง
        2ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานและมีมาจากที่อื่นด้วย (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 69แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอีสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า อีสาน” หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000.- ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่าลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมินับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามา พอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียงและเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโคตรบูร ได้แก่บรรดาชาวข่าที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์เรียกว่า คนอีสาน” นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ปะปนกันอยู่และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ “ลาวอยู่ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากงานเขียนของนักวิชาการบางคนที่กล่าวว่า หลังจากพวกละว้าหรือพวกข่าหมดอำนาจลง ดินแดนอีสานก็ถูกครอบครองโดยขอมและอ้ายลาว ต่อมาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ดินแดนส่วนนี้จึงถูกครอบครองโดยอ้ายลาวมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนี้จริงจึงกล้าสรุปได้ว่า อ้ายลาว” ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั่นเอง อ้ายลาวเป็นสาขาหนึ่งของมองโกลเดิม อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำเหลือง ก่อนที่จะอพยพเข้าครอบครองอีสานนั้นได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำคัญขึ้น 4เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา ต่อมากลุ่มอ้ายลาวเกิดสู้รบกับจีน สาเหตุเพราะจีนมาแย่งดินแดน อ้ายลาวสู้จีนไม่ได้จึงอพยพลงใต้ถอยร่นลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณยูนานในปัจจุบัน มีเมืองแถนเป็นศูนย์กลางสำคัญ แต่ก็ยังถูกรุกรานแย่งชิงจากจีนไม่หยุดหย่อน อ้ายลาวจึงอพยพลงมาตั้งอาณาจักรใหม่อีก คือ อาณาจักรหนองแส มีขุนบรมวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอ้ายลาวเป็นผู้ปกครองขุนบรมขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1272 ได้รวบรวมผู้คนเป็นปึกแผ่น และส่งลูกหลานไปครองเมืองต่าง ๆ ในบริเวณนั้นลูกหลานที่ส่งไปครองเมืองมี 7 คน คือ
          1ขุนลอ ครองเมืองชวา คือ หลวงพระบาง
         2ขุนยีผาลาน ครองเมืองหอแตหรือสิบสองพันนา
          3ขุนสามจูสง ครองเมืองปะกันหรือหัวพันทั้งห้าทั้งหก
          4ขุนไขสง ครองเมืองสุวรรณโดมคำ
          5ขุนงัวอิน ครองเมืองอโยธยา (สุโขทัย)
          6ขุนลกกลม ครองเมืองมอญ คือ หงสาวดี
          7ขุนเจ็ดเจือง ครองเมืองเชียงขวางหรือเมืองพวนพี่น้องอ้ายลาวทั้ง 7 ปกครองบ้านเมืองแบบเมืองพี่เมืองน้องมีอะไรก็ช่วยเหลือเจือจุนกันโดยยึดมั่นในคำสาบานที่คำสัตย์ปฏิญาณร่วมกันว่า “ไผรบราแย่งแผ่นดินกันขอให้ฟ้าผ่ามันตายสำหรับ กลุ่มอ้ายลาวนี้น่าจะเกี่ยวโยงเป็นกลุ่มเดียวกับคนชาติพันธุ์ลาวในอีสาน น่าจะเป็นกลุ่มลาวเชียงและลาวเวียง คือ กลุ่มจากอาณาจักรล้านนา (ลาวเชียง) และกลุ่มจากอาณาจักร ล้านช้าง (ลาวเวียง) ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เริ่มตั้งแต่สร้างเมืองชวาหรือเมืองหลวงพระบาง มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 22 องค์ กษัตริย์องค์หนึ่งคือพระเจ้าเงี้ยว ได้กำเนิดลูกชายคือพระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าฟ้างุ้ม เกิดมามีฟันเต็มปาก เสนาอำมาตย์ในราชสำนักเห็นเป็นอาเพศจึงทูลให้พระบิดานำไป ล่องโขง” คือลอยแพไปตามลำน้ำโขง มีพระเขมรรูปหนึ่งพบเข้าเกิดเมตตาเอาพระเจ้าฟ้างุ้มไปชุบเลี้ยงจนเติบใหญ่แล้วถวายตัวในราชสำนักเขมรพระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการศึกษาอบรมอย่างองค์ชายเขมร และทรงเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรด้วย เมื่อพระเจ้าฟ้าเงี้ยวสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าคำเสียวผู้เป็นน้องชายขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพจากเขมรทวงราชสมบัติของบิดาคืน สามารถโจมตีเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าฟ้าคำเลียวเสียทีแก่หลานสู้ไม่ได้ น้อยใจจึงกินยาพิษตาย เจ้าฟ้างุ้มจึงขึ้นครองเมืองหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 1896 ทรงพระนามว่าพระยาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี” พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก เป็นนักรบผู้กล้าหาญชาญฉลาด ในช่วงนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นกษัตริย์ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอำนาจแผ่ไปถึงญวน ลงมาถึงส่วนหนึ่งของเขมรตอนล่างและเข้ามาสู่ดินแดนอีสานได้อพยพผู้คนจากเวียงจันทน์มาอยู่บริเวณเมืองหนองหาน และหนองหานน้อยประมาณ 10,000 คน พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์และแผ่แสนยานุภาพเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าฟ้างุ้มคิดแผ่แสนยานุภาพเข้าครอบครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้พระเจ้าอู่ทองต้องเจรจาหย่าศึกโดยอ้างความเป็นญาติร่วมวงศ์ขุนบรมเดียวกันว่า “เฮาหากแมนอ้ายน้องกันมาแต่ขุนบรมพุ้น หากเจ้าเป็นลูกหลานขุนบรมจริง เฮาอย่ามารบราฆ่าฟันกันเลย ดินแดนส่วนที่อยู่เลยดงสามเส้า (ดงพญาไฟ ไปจดภูพระยายาฝอและแดนเมืองนครไทยให้เป็นของเจ้า ส่วนที่อยู่เลยดงพญาไฟลงมาให้เป็นของข้อย แล้วจัดส่งลูกสาวไปจัดที่อยู่ที่นอนให้” (ทองสืบ ศุภมารค: อ้างใน สมเด็จพระสังฆราชลาวง2528:43)พระเจ้าอู่ทองยัง ได้ส่งช้างพลาย 51 เชือก ช้างพัง 5เชือก เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่น ๆ อีกอย่างละ 100 ให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม จากหลักฐานนี้อาณาจักรลานช้างจึงมีอำนาจครอบครองดินแดนอีสาน ยกเว้นเมืองนครราชสีมาที่ยังคงเป็นอิสระอยู่เพราะในหนังสือ “ King of Laos ” ระบุว่าในปี ค.ศ. 1385 อาณาเขตกรุงล้านช้างทางทิศตะวันตกติดต่อกับโคราช(นครราชสีมา) ดินแดนอีสานส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าฟ้างุ้มเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ลาวเขียนไชยเสฏฐามหาราช) ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2091-2114 ได้ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาอยู่เวียงจันทน์ พระองค์ได้ทำสัญญาพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา และทั้งสองได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักร กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างวัดองค์ดื้อ และศาสนสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองหนองคาย และบูรณะพระธาตุพนมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสนใจดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงมากกว่าสมัยก่อน ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2250กิดการแก่งแย่งอำนาจขึ้นในลาว ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น อาณาจักร มีหลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลาง และในปี พ.ศ. 2256าเขตเวียงจันทน์ทางใต้ได้ถูกแบ่งแยกโดยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) มีเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นเมืองหลวง ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ส่งจารย์แก้ว (เจ้าแก้วมงคล) มาเป็นเจ้าเมืองท่งหรือเมืองทุ่ง ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นับว่านครจำปาศักดิ์ได้ขยายอำนาจเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำมูล – ชี ตอนกลาง เวลาต่อมาลูกหลานเจ้าเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิได้สร้างเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอีสานมากกว่า 15  เมือง   (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 71
เช่น สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชนบทขอนแก่น ฯ ล ฯต่อมาเกิดความไม่ลงรอยแตกแยกกัน ระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ลาวผู้คนได้อพยพหนีภัยการเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้าสู่อีสานเหนือ กลุ่มสำคัญได้แก่
กลุ่มเจ้าผ้าขาว โสมพะมิตร
        กลุ่มนี้อพยพผู้คนมาตั้งอยู่ริ่มน้ำปาว คือ บ้านแก่งส้มโฮง (สำโรง) เจ้าโสมพะมิตรได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี และเนื่องจากมีกำลังคนถึง4,000 คน รัลกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ยกบ้านแก่งส้มโฮงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเจ้าโสมพะมิตรได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
กลุ่มพระวอพระตา
       พระวอพระตาเป็นเสนาบดีลาว เกิดขัดใจกษัตริย์เวียงจันทน์ อพยพผู้คนข้ามโขงมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว ตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน” แต่ได้ถูกกองทัพลาวตามตีจนพระตาตายที่รบ ส่วนพระวอได้พาบริวารไพร่พลหนีลงไปตามลำแม่น้ำโขงจนถึงดอนมดแดง และต่อมาลูกหลานของพระวอได้ขอตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร
กลุ่มท้าวแล
      ท้าวแลและสมัครพรรคพวกได้อพยพหนีภัยการเมืองจากเวียงจันทน์ มาอยู่ในท้องที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายไปทางตอนเหนือแล้วขอตั้งเป็นเมืองชัยภูมิ ท้าวแลได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ว่า พระภักดีชุมพลต่อมาได้เลื่อนเป็น “พระยาภักดีชุมพลการตั้งบ้านเมืองในดินแดนอีสานตั้งแต่พุทธศตวรรษ 24-25 หรือตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 100 เมือง มีแบบแผนการปกครองตามแบบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์คือมีตำแหน่งอาชญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ส่วนเมืองในเขตอีสานใต้คือนครราชสีมาและหัวเมืองเขมรป่าดง ได้ใช้แบบแผนการปกครองแบบกรุงเทพ ฯ คือมีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองจากหลักฐานของลาวสามารถหาได้กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอีสานมานานแล้ว จึงสรุปได้ว่า คนในท้องถิ่นอีสาน หรือบริเวณนี้เป็นเชื้อสายลาว ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน สืบทอดสายธารทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคตอีกนานเท่านาน
วัฒนธรรมการแต่งกาย
     เผ่าไทยลาว(ไทยอีสาน) นิยมผ้าฝ้ายมาแต่เดิม และพัฒนาผ้าฝ้ายเป็นการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ แหล่งผ้าฝ้ายที่มีมานานแล้วคือกลุ่มบ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ แก่นไม้ผ้าซิ่นแขนกระบอกผ้ายย้อมคราม หรือมัดหมี่ เป็นที่นิยมของชนเผ่าไทยลาวกลุ่มที่แต่งกายแบบดั้งเดิมจริง ๆ นิยมแต่งด้วยผ้าย้อมครามทั้งเสื้อและผ้าซิ่น แต่ไม่สวยเด่นเท่าผ้ามัดหมี่ เพราะมีสีดำมือทั้งตัว การพัฒนาการของการทอผ้ามัดหมี่ ทำให้ไทยลาวในปัจจุบันสามารถทอผ้าลายหมี่คั่นหลายสี เช่น สีเหลือง สีแดง และนิยมสีฉูดฉาด นอกจากนี้ชาวเผ่าไทยลาวยังนิยมทอผ้าห่ม ผ้าจ่องลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถปรับแต่งมาเป็นผ้าสไบโชว์ลวดลายของผ้าประกอบเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องประดับของชาวเผ่าไทยลาวนิยมเครื่องเงินเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น
ผ้าซิ่น ในขณะที่เอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มผู้ไทย กลุ่มย้อ กลุ่มกะเลิง แต่เดิมนิยมผ้าซิ่นมีเชิงในตัวที่เรียกว่า ซิ่นตีนเต๊าะ แต่เผ่านี้กลับนิยมซิ่นไม่มีเชิงทั้งที่เป็นผ้าเข็น(ทอ) และผ้ามัดหมี่ฝ้าย หรือไหม
      
เสื้อ แบบเสื้อของชนเผ่าไทยลาว แม้เสื้อจะเป็นเสื้อย้อมสีน้ำเงินแก่ แบบเสื้อคล้ายกับชนเผ่าอื่น ๆ แต่เนื่องจากเป็นชนเผ่าที่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ และรับเอาวัฒนธรรมจากภาคกลางได้รวดเร็วจึงทำให้เผ่าไทยลาวมีแบบเสื้อแตกต่างไปจากชนเผ่าอื่น ๆ บ้าง   เช่น เสื้อแขนกระบอก คือทอจากผ้าแพรตกแต่งให้มีจีบมีระบาย สวมสร้อยที่เป็นรัตนชาติ เช่น มุก มากกว่าการสวมสร้อยเงิน สอดชายเสื้อในซิ่นหมี่ไหม คาดด้วยเข็มขัดเงิน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของชนเผ่าไทยลาว คือการนิยมผ้าขะม้าทั้งชายและหญิง ผ้าขะม้า(ขาวม้า) ที่งดงามคือผ้าใส่ปลาไหล มีสีเขียว-แดง-เหลือง ตามแนวยาวไม่ใช่เป็นตาหมากรุก ซึ่งเป็นผ้าสมัยใหม่ ผ้าใส่ปลาไหลสามารถคัดแปลงเป็นผ้าคล้องคอ ผ้าสไบของสตรีในการเสริมการแต่งกายให้งดงามขึ้น




3 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. อ้างอิงจากชื่อบล็อกได้เลยครับ

    ตอบลบ
  3. เป็นเมืองน่าอยู่อาศัย ผู้คนอัธยาศัยใจคอดีมาก ประเพณี ขนบธรรมเนียม สดใสสวยงาม ฯลฯ

    ตอบลบ